วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่4




บันทึกอนุทิน

วิชา   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์  ตฤณ  แจ่มถิน

วันศุกร์ที่  6  ธันวาคม  พ.ศ.  2556

ครั้งที่  4  เวลาเรียน 14.10 - 17.30  กลุ่ม 102 ห้อง 432

เวลาเข้าสอน  14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกสอน 17.30




           ความรู้ที่ได้รับ

                  วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานในหัวข้อที่จับสลากได้  ซึ่งกลุ่มของดิฉันเป็น

กลุ่มแรก ในหัวข้อเรื่อง  จำนวนและการดำเนินการ   เด็กอายุ 3 ปี สามารถนับปากเปล่า 1-5 ได้  อ่านตัว

เลขฮินดูอารบิก 1-5 บอกจำนวนสิ่งต่างๆได้ไม่เกิน 5 สิ่งโดยการนับ  ส่วนเด็กอายุ 4 ปี สามารถ

นับปากเปล่าเพิ่มจาก 1-5 เป็น 1-10 ได้ และสามารถเปรียบเทียบจำนวนสิ่งของต่างๆ 2 กลุ่ม โดยแต่ละ

กลุ่มมีจำนวนไม่เกิน 10 และเด็กอายุ 5 ปี สามารถนับปากเปล่า 1-20 ได้  อ่านและเขียนเลยฮินดู

อารบิก  1-20 ได้




ภาพกลุ่มของดิฉัน


กลุ่มที่ 2 นำเสนอ เรื่องการวัด  เด็กสามารถบอก ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน หรือเวลา
 
 
กลุ่มที่ 3 นำเสนอ เรื่อง เรขาคณิต  เด็กสามารถบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิต 3 มิติ
 
                และ รูปเรขาคณิต 2 มิติ
 
กลุ่มที่ 4 นำเสนอ เรื่องพีชคณิต  เด็กสามารถเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ได้ เช่น การต่อแบบรูปให้
 
                เข้าชุดกับแบบรูปที่กำหนดให้
 
กลุ่มที่ 5 นำเสนอ เรื่อง  วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  เด็กสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
 
               ตนเองและลิ่งแวดล้อมมานำเสนอได้
 
 
 
ภาพของกลุ่มเพื่อนๆขณะพรีเซ็นต์งาน
 
 


     
          การนำไปใช้


        สามารถนำความรู้ที่ได้ของแต่ละกลุ่มไปพัฒนาต่อยอดในการออกฝึกสอนได้

        สามารถนำเทคนิคกานำเสนอของเพื่อนไปปรับใช้ในการนำเสนองานในวิชาอื่นๆได้

        สามารถนำเอากิจกรรมหรือการยกตัวอย่างในการนำเสนอของเพื่อนๆไปปรับใช้ได้



                           
 

ครั้งที่ 3



บันทึกอนุทิน

วิชา   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์  ตฤณ  แจ่มถิน

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน  พ.ศ.  2556

ครั้งที่  3  เวลาเรียน 14.10 - 17.30  กลุ่ม 102 ห้อง 432

เวลาเข้าสอน  14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกสอน 17.30
       
        ความรู้ที่ได้รับ
                   วันนี้อาจารย์สอนเรื่องจุดมุ่งหมายของการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

               -  เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของคณิตศาสตร์ เช่น รู้เกี่ยวกับคำศัพท์

               -  เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ

               -  เพื่อให้รู้จักการใช้กระบวนการหาคำตอบ

               -  เพื่อให้ฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน

                - เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ

 
       จากนั้นอาจารย์ได้สอนต่อเกี่ยวกับ   เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


            1. การสังเกตุ (Observation)   คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งในการเรียนรู้

               โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงอย่างมีจุดหมาย


   ตัวอย่างเช่น   การสังเกตุจุดแล้วแยกออกมาแต่ละจุด



     2.  การจำแนกประเภท ( Classitying )  คือ การแบ่งแยกสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการ

          แบ่งปัน

    
ตัวอย่างเช่น     การจำแนกหรือแบ่งประเภทของสิ่งของหรือสี
 




  3. การเปรียบเทียบ  ( Comparing )    คือ  การที่เด็กจะต้องอาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งของ หรือ

เหตุการณ์ตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป เด็กต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งๆนั้น

              และรู้จักคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์


ตัวอย่างเช่น     การเปรียบเทียบขนาด






   4. การจัดลำดับ (Ordering)  คือ เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง เป็นการจัดลำดับวัตถุสิ่งของ

     เหตุการณ์


    ตัวอย่างเช่น    การเรียงลำดับสิ่งของจากใหญ่ไปหาเล็ก




      5.  การวัด ( Measurement )  คือ  มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์  การวัดสำหรับ

         เด็กปฐมวัย  ได้แก่  อุณภูมิ  ระยะทาง  เวลา   ความยาว


 ตัวอย่างเช่น    การวัดความยาวระหว่างเชือกสองเส้นว่าอันไหนยาวกว่ากัน






6. การนับ   (Covnting)  คือ เด็กจะชอบนับแบบท่องจำโดยไม่รู้ความหมาย การนับแบบท่องจำจะมี

   ความหมาย ก็ต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง


  ตัวอย่างเช่น  การให้เด็กดูรูปแล้วนับจำนวนในรูปว่ามีกี่ลักษณะ





      7.  รูปร่างรูปทรงและขนาด (Sharp and Size) คือ เด็กส่วนมากเข้าใจอยู่แล้ว



       กิจกรรมท้ายคาบ   อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ1แผ่นจากนั้นอาจารย์ให้ทุกคนวาดวงกลม

กลางกระดาษหนึ่งวง จากนั้นอาจารย์ให้เขียนตัวเลขที่ชอบลงไปในวงกลมจากนั้นอาจารย์ก็

แจกกระดาษสีแล้วบอกใหเทกลีบดอกไม้ตามจำนวนเลขที่วาดในวงกลม 




ดิฉันเขียนเลข 7 เลยยต้องทำทั้งหมด 7 กลีบ



      การนำความรู้ไปใช้

     สามารถนำไปสอนเด็กในเรื่องการบับเลขได้

    สามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในการออกฝึกสอนได้

    สามารถนำไปสอนเกี่ยวการคณิตศาตร์ในรูปแบบของการจัดกิจกรรมได้




              

ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์  ตฤณ  แจ่มถิน

วันศุกร์ที่ 15  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2556

ครั้งที่  2  เวลาเรียน 14.10 - 17.30  กลุ่ม 102 ห้อง 432

เวลาเข้าสอน  14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกสอน 17.30

     

        ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
               
               วันนี้อาจารย์สอนในเรื่องคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ความหมายของคณิตศาสตร์คือ

ระบบความคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ

สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ จำนวน ตัวเลข หรือดำเนิน

การเกี่ยวกับ จำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต และอื่นๆ
       

        ความสำคัญของคณิตศาสตร์
                 1. เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน  
                
                 2. ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหา (ใช้เพื่อหาเหตุผล) 
                
                 3. เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงาน และประเมินผล 
                
                 4. เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาต่างๆ โดยเฉพาะ วิชาวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี
   
             
          ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของ Piaget ประกอบไปด้วย
           
   1. ขั้นพื้นฐาน เป็นขั้นที่พัฒนาด้านประสาทสัมผัส สามารถจำสิ่งต่างๆได้ บอกลักษณะของวัตถุได้
             
        เช่น รูปทรง (อายุ 0-2 ปี)
        
 2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล เป็นการใช้ภาษาแสดงความคิดเห็น รู้คำที่สามารถบอกขนาด
           
     น้ำหนัก รูปทรง และความยาวได้ สามารถเล่นบทบาทสมมุติที่เป็นพื้นฐานของความเข้าใจที่เป็น
           
     นามธรรมได้ เช่น จำนวน ตำเลข และตัวอักษร (อายุ 2-7ปี)  
             
      ***    เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตุและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
           
      ***    เด็กไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง
                    
              ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้
    
     
ตัวอย่าง

          มีน้ำในแก้วอยู่ 2 ใบ จากนั้นให้เด็กดูว่าน้ำในแก้ว 2 ใบนี้มีน้ำเท่ากันไหม เมื่อเด็กได้ดูเด็กจะตอบ

         ว่าเท่ากัน



           จากนั้นลองทำการเทน้ำจากแก้วที่ 2 ไปใส่ในแก้วใบที่ 3 ซึ่งมีรูปทรงที่สูงกว่าแก้วที่ 2 จากนั้นให้

           เด็กๆดูแล้วตอบใหม่ว่าเป็นเช่นไร เด็กๆจะตอบว่า แก้วใบที่ 3 มีน้ำมากกว่าแก้วใบที่ 2





           จากนั้นอาจารย์ได้สอนต่อเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ (Conservation) หมายถึง การสะสมความคิดเดิม


            การอนุรักษ์สามารถพัฒนาได้โดย
      
            - การนับ
 
            - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
 
            - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
 
            - การเรียงลำดับ
   
            - การจัดกลุ่ม


          จากนั้นอาจารย์ก็สอนต่อ   เรื่อง หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก

           ปฐมวัย 

          ประกอบไปด้วย

         เปิดโอกาศให้เด็กได้พูดคุยอธิบาย สำรวจ ผ่านอุปกรณ์และสื่อวัตถุ

         ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่นกิจกรรมที่มีการให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริง
 
        ใช้คำถามปลายเปิดกับเด็ก
 
        เชื่องโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน



        กิจกรรมระหว่างเรียน

             อาจารย์ให้วาดรูปสัตว์ที่มีจำนวนขาเยอะๆมาคนละ 1 ชนิด  หลังจากนั้นพอทุกคนวาดเสร็จ

    อาจารย์ก็แจกกระดาษสีให้แล้วบอกให้ทุกคนใส่รองเท้าให้สัตว์ตัวที่ตัวเองวาด 

    ดิฉันได้วาด เต่าทอง มี 6 ขา




       การนำความรู้ไปใช้

        -  สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้

        -  สามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ไปปรับใช้ให้เด็กได้ลองทำดู

        -  สามารถนำกิจกรรมนี้ไปสอนหรือสอดแทรกในการเล่นได้โดยที่เด็กจะซึมซาบความรู้ที่ได้ทาง

            คณิตศาตร์โดยไม่รู้ตัว



                            

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่1



บันทึกอนุทิน

วิชา   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์  ตฤณ  แจ่มถิน

วันศุกร์ที่ 8  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2556

ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 14.10 - 17.30  กลุ่ม 102 ห้อง 432

เวลาเข้าสอน  14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10 เวลาเลิกสอน 17.30




   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้


        วันนี้อาจารย์ให้ทำ Mind  Map  เกี่ยวกับความรู้เดิมที่มีในวิชา การจัดประสบการ์ทางคณิตศาตร์

สำหรับเด็กปฐมวัย ว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจอย่างไรเกี่ยวกับวิชานี้ ก่อนเริ่มเข้าสู่บทเรียน







    การนำความรู้ไปใช้

   1.   เราสามารถนำความรู้เดิมที่เรามีนำมาผสมผสานกับความรู้ที่ได้ใหม่เพื่อเอามาประยุกต์ใช้ได้

   2.   เราสารถนำความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ในวันนี้ในเรื่องของการเรียนรู้ผ่านกิจกกรมไปใช้ในการออก

         ฝึกสอนหรือในอนาคตต่อไปได้

   3.   ได้เรียนรู้หลักในการจัดกระบวนเรียงลำดับความคิดออกมาในรูปแบบ Mind map